เผยสเปกแท็บเล็ตแจกเด็ก ป.1 ราคาเครื่องละ 2,400 บาท จอภาพ 7 นิ้ว ซีพียู 1 GHz แรม 512MB ความจุ 16GB มี GPS-Wireless ในตัว
ทำเอาวงการศึกษาฮือฮา เมื่อรัฐบาลเตรียมคลอดนโยบาย "วันแท็บเล็ตพีซีเปอร์ชายด์" (One Tablet Pc per Child) หรือการแจกคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อนำไปใช้ศึกษาหาความรู้ โดยนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ระบุว่า ตั้งใจจะแจกแท็บเล็ตให้เด็กนักเรียนได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2555 เป็นต้นไป แต่ในช่วงแรกอาจได้ไม่ครบทุกคน เนื่องจากติดปัญหาเรื่องการสั่งซื้อ
อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวได้ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสังคม โดยส่วนหนึ่งเห็นด้วย ขณะที่อีกส่วนเห็นต่าง เพราะเกรงว่า เด็กจะนำแท็บเล็ตไปใช้ในทางที่ผิด อีกทั้งยังข้องใจว่า แท็บเล็ตราคาถูกที่รัฐบาลแจกนั้นจะมีคุณภาพต่ำ ทั้งสเปกภายในเครื่องและวัสดุประกอบเครื่อง ทำให้เครื่องเสียหายได้ง่ายเมื่ออยู่ในมือเด็ก
มีจอแบบสัมผัสภาพ ขนาดของจอแสดงผลไม่น้อยกว่า 7 นิ้ว ความละเอียดของจอภาพ ไม่น้อยกว่า 1024x768 พิกเซล ต้องทนต่อรอยขีดข่วน มีการติดฟิล์มกันรอยที่หน้าจอและหลังตัวเครื่อง และต้องมีเคสบรรจุเพื่อป้องกันเครื่องทั้งด้านหน้าและหลัง
ติดตั้งระบบความปลอดภัยระดับ OS Security Level
ความจุของเครื่องไม่ต่ำกว่า 16 GB
หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู ไม่ต่ำกว่า 1 GHz และเป็นสถาปัตยกรรมแบบ Dual Core
หน่วยความจำหลัก หรือ แรม ไม่น้อยกว่า 512 MB
ติดตั้งระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อแท็บเล็ตโดยเฉพาะ หรือรองรับระบบ Android 3.2 (ZHoneycomb) , Linux Kernel 2.6.36 ขึ้นไป และรองรับ Android 4.0 (Ice Cream Sandwich) , Linux Kernel 3.0.1 ได้
มีระบบเชื่อต่อสายสัญญาณ Data Sync
มีช่องเสียบชุดหูฟังพร้อมไมโครโฟน
มีช่องสำหรับใส่สื่อบันทึก Micro SD Card
มีลำโพงในตัว
มีอุปกรณ์การเชื่อมต่อแบบ USB 2.0
มีระบบเชื่อมต่อไวร์เลส ตามมาตรฐาน IEEE 802.11b/g หรือดีกว่า โดยใช้คลื่นความถี่ 2.4GHz
มีระบบเซ็นเซอร์ปรับแสงสว่าง
มี GPS ชนิดติดตั้งภายในตัวเครื่อง Built-in
ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานการแผ่กระจายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มอก.1956-2548, มาตรฐานความปลอดภัย มอก.1561-2548, มาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อม RoHs และต้องผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับใช้งานกับไฟฟ้ากระแสสลับได้ในช่วงตั้งแต่ 190 ถึง 240 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิร์ท 1 เฟส พร้อมระบบสายดินตามมาตรฐานของประเทศไทย
ในส่วนของโรงงานประกอบ ผลิต และหรือสายการผลิต ต้องได้รับมาตรฐานในอนุกรม มอก.9001 หรือ ISO 9001
จัดทำ Storage Partition ทำการ Reload ซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการ และแอพพลิเคชั่นซอฟท์แวร์ตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
รับประกันอุบัติเหตุและอุบัติภัยระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันตรวจรับ และตองให้บริการ On-Site Service หรือให้บริการ ณ สถานที่ติดตั้ง เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี
หากเครื่องชำรุด สามารถเปลี่ยนเครื่องใหม่ภายใน 5 วันทำการ นับจากวันที่ผู้ขายได้รับแจ้ง
ต้องตรวจสอบและบำรุงรักษาทุก 6 เดือน ตลอดระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันส่งมอบ
เปิดศูนย์บริการ 24 ชั่วโมง เพื่อตอบปัญหาการใช้งาน หรือรับแจ้งเครื่องที่มีปัญหา
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น